29 มิถุนายน 2557

Notes การใข้งาน Exponential Moving Average (EMA)

Notes การใช้งาน EMA ที่สังเกตุมา
  1. ใช้ EMA ดู Trend
  2. ใช้ EMA ดูทิศทางกระแสน้ำไหล
  3. ใช้ EMA เป็น Buy&Sell Signal
  4. ใช้ EMA เป็น Trailing Stop Loss
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ใช้ EMA ดู Trend
  • ใช้ EMA 89 ในการ Confirm Trend 
  • Price เหนือเส้น EMA 89 = Up Trend
  • Price ต่ำเส้น EMA 89 = Down Trend
2. ใช้ EMA ดูทิศทางกระแสน้ำไหล
  • ส่วนตัวนะครับ เวลาราคาลงมาแรงๆเปรียบทับน้ำตก ตกปั๊บ น้ำกระเฉาะ ต้องรอมันมันสะเด๊ดสะก่อนค่อยเข้าไป 
  • ซื้อตอนราคามันขึ้นมายืนเหนือ เส้น EMA 89 ค่อยเข้าไป
  • น้ำตกยิ่งแรงยังไม่ควรรีบเข้า เพราะ ตอนมันเด้ง ส่วนมากมักลงต่อ
  • EMA 89 ใช้ดูทิศทางของกระเเสน้ำที่มันกำลังจะไหลไป จิตนาการว่าเป็นกระแสน้ำ

     คำถามในใจ
  • แบบนี้ก็ซื้อแพงสิ ใช่แพง แต่มีโอกาสขึ้นเยอะกว่า
  • แบบนี้ก็ทะย่อยซื้อหุ้นที่ต่ำกว่า EMA 89 ก็ได้ต้นทุนถูกนิ ใช่แต่ไม่รู้ว่ามันจะลงอีกเยอะไหม
  • แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าจะขึ้นจริง Dow Theory บอกว่า Break High คือ ขึ้น
  • ถ้า Break แล้ว Fail ละทำไง ก่อนซื้อมีจุด Cut loss ก่อนเสมอ

3. ใช้ EMA เป็น Buy&Sell Signal
  • ทดสอบใช้ EMA 5 + EMA 15 หรือ EMA 15 + EMA 30 แล้วแต่จะเลือก
  • ภาพแรก มี Trend ใช้ EMA ได้
  • ภาพสอง Sideway ใช้ ถือไปเกิดสัญญาณซื้อ ขาย สุดท้ายทำไปไม่ได้กำไรเสียเวลา


4. ใช้ EMA เป็น Trailing Stop Loss
  • ใช้ได้เฉพาะตอนเป็น Trend ถึงจะใช้ EMA13 หรือ "34" เป็น Trailing Stops
    • ถ้าคนเคยเรียกกับครูหยง เค้าจะแนะนำให้ใช้ EMA 34 เป็น Trailing Stops ขณะ Run Trend
    • ถ้าไม่มี Trend ไม่ใช้ ( Trend Up กับ Down เท่านั้น Side way ใช้ไม่ได้ )

* ใช้ EMA ดูต้นทุนของนักลงทุน
  • EMA 13 > ต้นทุนระยะสั้น "ครึ่งเดือน" ที่ผ่านมา
  • EMA 34 > ต้นทุนของนักลงทุนรายย่อยในระยะเวลา "เดือนครึ่ง" ที่ผ่านมา
  • EMA 89 > ต้นทุนของกองทุน ในระยะเวลา "6 เดือน" ที่ผ่านมา
ข้อจำกัด
  • ไม่ควรใช้ EMA ในสภาวะตลาด Sideway หรือ ราคาวิ่งในกรอบ
จุดสังเกตุ
  • ทิศทาง
    • ความชันของเส้น EMA 89 ถ้ามันดิ่งลง แบบ 2,3 อย่าไปยุ่งเพราะกระเเสมันเเรง
    • ความชันของเส้น EMA ชัดขึ้น แบบ 1 Run Trend อย่ารีบขาย
    • ความชัดของ EMA ออกแนวป้านๆ แบบ 3 ให้ พยายาม หา Pattern แสดงว่าแรงเริ่มหมด ก็จะเกิด Sideway และ มองว่า มันจะเลือกข้างไหน การตี Trend Line ที่ดี ควรจะออกแนวป้านๆๆ ดังภาพ ให้ออกแนวป้านๆๆ
    •  สังเกตุหุ้นที่ ขึ้นมาเทส หรือ มาพักบนเส้น EMA 89 ก่อน Breakout ค่อยเลือก
    • พยายามสังเกตุ เส้น EMA ว่ามันชัดมากแสดงว่ามีแรงมาก ชัดน้อย เริ่มนิ่งๆ
  •  มิติของ EMAโดยประมาณ
    • TF Week 13 >> TF Day 34
    • TF Week 34 >> TF Day 89
    • TF Week 89 >> TF Day 233
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปล. จากตัวเลขข้างล่างจะเห็นว่า ค่าเฉลี่ยของวันตัวเลขจะใกล้ๆ กัน
{ 13, 15},{ 34, 35}, { 75, 89, 90 } , { 200, 233}
อนุมานว่าเป็น Sub Set เดียวกัน แล้วแต่ว่า แต่ละคนชอบเลขไหน ( ใช้อะไรได้เงินก็ใช้อันนั้น )
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
EMA by P.Yong
EMA 13
EMA 34
EMA 89
EMA 233
Ref : อ้างอึงเลข Fibonacci ศิลปะเเห่งเลข อิอิ Art อิอิ ขอ Art ด้วยคน อิอิ
Ref : ศึกษาแนวคิดพี่เค้าได้จาก
Ref : http://monkeytrade.blogspot.com/
Ref : หนังสือ หยงเกิดมาเทรด >> เป็นหนังสือที่เค้าเขียนจากประสบการณ์แนวจิตวิทยา และ แนวคิด
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
EMA by P.Pui
EMA 5
EMA 15
EMA 35
EMA 90
EMA 233
Ref : อ้างอึงจากที่ทางพี่ปุ่ยเค้าทดลองใช้จริง
Ref : http://waveridersclub.blogspot.com/
Ref : หนังสือ โต้คลื่นรู้ทันเทคนิค 1,2 อิอิ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
EMA by P.เปี้ยก CIMB
EMA 5
EMA 20
EMA 50
EMA 75
EMA 200
Ref : สามารถอ่านเพิ่มเติมจากหนังสือ "แมงเม่าสำราญ"

28 มิถุนายน 2557

Notes การใข้งาน Chart Pattern

Notes : Chart Pattern Update 30/06/2557

*Chart Pattern คิอ การบีบตัวของราคา จนก่อเกิดรูปแบบใดรูปแบบนึง ก่อนที่จะเลือกฝั่งว่าจะ ขึ้น      หรือ ลง ตามทิศทางที่ Breakout นั้นๆ เมื่อเกิดการ Breakout มักจะวิ่งไป Fibonacci อย่างน้อย 261.8

*Chart Pattern ส่วนใหญ่มักจะเกิดเฉพาะตอนที่ตลาดเป็น Sideways เพราะ ระหว่างที่ราคาไม่ไปไหน ราคาก็มักจะวิ่งในกรอบ และ จะบีบตัวเรื่อยๆ ก็จะเกิดการสะสมของราคาจนก่อเกิดเป็น Pattern ต่างๆ แล้วก็ Break Out ในที่สุด

Notes ทฤษฎีดาว(Dow Theory)

ทฤษฎีแม่แบบ Dow Theory
1. The Averages Discount Everything.
    * ราคาได้ซึมซับปัจจัยพื้นฐาน หรือ ข่าวไว้หมดแล้วในอดีต
    * ราคาซึมซับมุมมองและพฤติกรรมไว้หมดแล้วของ Demand & Supply
    * พฤติกรรมของราคาจะเหมือนเดิมตราบเท่าที่คนคุมคนเดิมยังอยู่ ถ้าเปลี่ยนคนคุมพฤติกรรมราคาจะถูกเปลี่ยนแปลงจากเดิม เพราะ "สันดาน" คนไม่เปลี่ยนแปลง
    ** หลายๆครั้งราคาจะถูกบิดเบือนความเป็นจริง เพราะ "โลกของทุนนิยม" คนมีทุนเยอะสุดสามารถทำราคากราฟเป็นในรูปแบบไหนก็ได้ จึงต้องใช้องค์ประกอบอื่นๆช่วยวิเคราะห์เพิ่มอีกที เช่นดู Trend ในภาพใหญ่ประกอบเพราะสุดท้าย กำลังแรงจะเคลื่อนที่ไปในภาพใหญ่เสมอ เป็นต้น
    ** เมื่อราคามีการขึ้น หรือ ลงสูงสุด สุดท้ายมันจะกลับมาจุดสมดุลที่มันควรเป็น โดยมีพื้นฐานบริษัท, เศรษฐกิจโดยรวม, สถานะการณ์ต่างๆเป็นตัวแปลขับเคลื่อนอีกที

2. The Market is comprised of three trend.
(การเดินทางของราคาแบ่งออกเป็น 3 จังหวะหลักๆ ประกอบด้วย 1.Tide 2.SR และ 3.Ripple )
  1. Primary Tide : ทิศทางหลัก
    * Tide คือ การเดินทางของราคาที่เป็น Trend ชัดเจน
    * ระหว่างการเดินทางของราคามักจะมีการย่อ(Ripple) เกิดขึ้นระหว่างทาง แต่การย่อมักไม่ Overlap High ก่อนหน้า
    * สามารถใช้ EMA 34 ในการช่วยเกาะ Tide หรือ Trend หลักดีได้พอสมควร 
  2. Secondary Reaction(SR) : การพักฐานระหว่างทาง
    * SR เป็นการย่อ หรือ การพักฐานใหญ่ของราคาที่ขึ้นมาทั้งหมดในหน้า Tide
    * การพักฐานใดๆ มักจะย่อมาประมาณ Fibonacci Retracement 38 - 61.8 ของราคาที่ขึ้นมาทั้งหมด
    * ยืนยันการจบ SR กำลังของราคาต้องลงมาจบรอบ (RSI : OS > OB > OS > OB หรือ RSI เลี้ยงบน 50 และ ราคาเป็น PP ถือเป็นการจบรอบ SR เข้า Phase Tide อีกรอบ )
    * เมื่อเกิดการจบ SR สามารถหา Continue Pattern ใน Tide หลัก ถ้าไม่มี Pattern ให้สลับ TF ไปในที่เล็กกว่าเพื่อหา Reversal Pattern
    * การย่อแต่ละครั้งเราสามารถวัด "% การเปลี่ยนแปลง" ขอการย่อเพื่อวิเคราะห์ว่าการย่อนี้เป็นของ Tide เล็กที่ขึ้นมา หรือ เป็นการย่อของ Tide ใหญ่ทั้งหมด
    * การยืนยันการจบ SR เพื่อกลับไปขา Tide คือการที่ ราคา Break High เดิมสูงสุด หรือ การBreak High ล่าสุด และ พักเหนือ High ก่อนหน้า
    * การเกิด SR สามารถเกิดได้ 2 แบบ
       1. เกิดตามแกนราคา คือ ราคาย่อมาประมาณ 38.2 หรือ 61.8 ของราคาที่ขึ้นมา
       2. เกิดตามแกนเวลา คือ ราคาขึ้นมาและออกข้างยาว
  3. Ripple/Noise : การย่อเล็กๆ น้อยๆ
    * Ripple คือการย่อระหว่างทางที่ราคาเป็น Tide และ เกิดแรงขายเล็กๆน้อย ที่ทำให้เกิดการย่อมาเล็กน้อย
    * Ripple ใน TF ใหญ่มักจะเป็น SR ของ TF ที่เล็กกว่า
       เช่น เกิด Ripple ใน TF Week ที่ดูเหมือนลงน้อย แต่พอสลับไปใน TF Day จะเห็นเหมือนการย่อระดับ SR ใน TF Day เป็นต้น

3. Primary trends have three phase.
(ทิศทางราคา Trend จะถูกเเบ่งออกเป็น 3 ช่วง).
  1. Public Participation(PP) : ช่วงที่คนส่วนมากขอร่วมด้วย พฤติกรรมราคาจะขึ้นเป็น Trend ชัดเจน
  2. Accumulation(Accu) : ช่วงเก็บของหรือสะสมของ คือ ราคายำๆๆ และ Break High
  3. Distribution(Dist) : ช่วงปล่อยของ สังเกตุได้จากการที่ราคาขึ้นมาแล้วพักใหญ่ๆ คนที่มีของต้นเริ่มทยอยขายทำกำไร ราคายำๆ และ Break Low

Assumption
  ** Phase Accu/Dist คือช่วง Consolidate(ราคาบีบตัว) และ Breakout เพื่อเลือกข้างทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
  ** Continue and Reversal Pattern หาเฉพาะตอนที่ราคามีการ Consolidate กับ SR เท่านั้น ช่วงราคาเป็น PP ไม่ต้องหา
  ** การเกิด PP สังเกตุได้จากการย่อมาพักฐานเหนือ High ก่อนหน้า และ Break High ก่อนหน้าดังภาพล่าง
  ** ราคาจะหมดความเป็น PP ขาขึ้น ก็ต่อเมื่อราคามีการลงมาต่ำกว่า High ก่อนหน้า(Overlap High ก่อนหน้า)
  ** ราคาจะหมดความเป็น PP ขาลง ก็ต่อเมื่อราคามีการขึ้นไปสูงกว่า Low ก่อนหน้า(Overlap Low ก่อนหน้า)
  ** เมื่อราคา Overlap ทำให้ราคาหมดความเป็น PP เราสามารถหา กรอบ หรือ Pattern ได้

4. The Averages must confirm each other.
(ค่าดัชนีตลาด / หมวดอุตสาหกรรม ควรไปในทิศทางเดียวกัน).
   * ข้อสังเกตุเดิมบอกว่าถ้าเศรษฐกิจดี Industrial Index และ Transport Index ต้องดีด้วยเพราะเมื่อก่อนเศรษฐกิจจะดีการคมานาคมการขนส่งต้องดีตาม เพราะเมื่อก่อนติดต่อค้าขายกันผ่านการคมาคมช่องทางเดียว ปัจจุบันมีช่องทางการค้าหลายรูปแบบจึงไม่จำเป็นเสมอไป
   ** ปัจจุบันใช้การเปรียบเทียบ SET กับ Sector และ Stock กับ SET เพื่อวิเคราะห์ความแข่งเเกร่งของตลาดและสินค้านั้นๆ เช่น SET Index ทำ New Low แต่หุ้นหรือSector นั้นไม่ทำ New Low เเสดงว่าหุ้นนั้นแกร่งกว่า และถ้าหา SET ใกล้จะ Break แต่ Stock/Sector นั้น Break ไปก่อนแสดงว่า Stock/Sector นั้น Bullish กว่า
   ** ใช้การเปรียบเทียบเพื่อหาความ Bullish/Bearish กว่าในเชิงตรรกะ

Sector Bearish Sentiment.

Sector Bullish Sentiment.

ข้อสังเกตุ
 - เราหา Sector ที่มี Market Bullish Sentiment ที่ดี คือคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ และ ค่อยถึงไปคัดเลือกหุ้นในกลุ่มที่คนสนใจอีกที
- การเข้าไปเล่นใน Sector ที่ Market Bearish Sentiment หุ้นส่วนมากจะลง หรือ นิ่งเพราะคนไปสนใจกลุ่มอื่นอยู่


5. The volume confirms the trend.
(ในการเกิด Trend จริงจะต้องมี Market Volume จะตามมาด้วย).
   * ทฤษฎี Dow เน้นหลักการในการเคลื่อนไหวของราคาเป็นหลัก(Price Action)
   * Volume ถูกนำมาใช้สำหรับช่วยยืนยันสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน สื่อประมาณว่าคนส่วนมากเห็นไปในทางเดียวกันหรือไม่(แต่ปัจจุบัน คนมีทุนเยอะสามารถสร้าง Volume เองได้ต้องดูอย่างอื่นประกอบอีกที)
   * Volume จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามทิศทางของแนวโน้มหลัก เช่น ตลาดขาขึ้น Volume จะค่อยเพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นถึงคนเริ่มสนใจในสินค้าตัวนี้ที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น
 ** ทั้งนี้การใช้ Volume อาจจะช่วยยืนยันได้ ณ จุดจุดนึง แต่ควรดูรายละเอียดอื่นๆ ช่วยประกอบอีกที

6. A Trend Remains intact until it gives a definite reversal signal.
(Trend จะไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเกิดสัญญาณกลับตัวอย่างชัดเจนเกิดขึ้น).
  * Uptrend : ราคาเป็นขาขึ้นไปเรื่อยๆจนกว่าจะเกิด Bearish Chart Pattern
  * Downtrend : ราคาเป็นขาลงมาตลอดจนกว่าจะเกิด Bullish Chart Pattern
  ** ดูแนวโน้มการเคลื่อนของราคาไปเรื่อยๆ ในหน้า Tide หลัก จนกว่าจะเกิด Reversal Chart Pattern ถึงจะยืนยันการเปลี่ยนเทรนจริง 
  ** ถ้าราคายืนเหนือ EMA 89  Bias Uptrend.
  ** ถ้าราคาอยู่ใต้ EMA 89 Bias Downtrend.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Dow Theory : Up & Down trend



HL > HH > HL > HH = Uptrend
LH > LL > LH > LL = Downtrend
** สามารถใช้ STO(5,3,3) มาช่วยจับ High Low ที่มีนัยยะได้ในเคสที่ภาพไม่ชัด
  *STO : OS ไป OB = Low , STO : OB ไป OS = High 
      ** OS > OB > OS > Break High ได้ 1 รอบ ราคา ขาขึ้น
      ** OB > OS > OB > Break Low ได้ 1 รอบ ราคา ขาลง 
  *RSI / MACD : OS ไป OB = Low , STO : OB ไป OS = High 
      ** OS > OB > OS > Break High ได้ 1 รอบ Trend ขาขึ้น
      ** OB > OS > OB > Break Low ได้ 1 รอบ Trend ขาลง 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Dow Theory : Buy & Sell Signal
 Break High >> Buy
 Break Low >> Sell
 **ต้องดู Momentum & Trend & Price Action & Valuation PE and Volatility Price เพื่อดู High

Ref : http://www.robertwcolby.com/dowtheory.html
Ref : http://www.marketinout.com/technical_analysis.php?id=43
Ref : Credit P.Tip & ครูหยง

Notes การคำนวณ Reward to Risk Ratio

Target Price by Valuation PE, PBV Target.
Target Price by Technical Target.

Notes การใข้งาน Multi Time Frame

fdsgdfg

Notes การใข้งาน Point & Figure (PnF)

sfdsf

Notes การใข้งาน ADX

Average Directional Index

 
 
หลักการใช้งาน ADX ตามหลักการ
  • ตามหลักการบอกไว้ว่า ถ้าสัญญาณ ADX > 20 คือมีเทรน
  • ถ้า ADX < 20 คือ ไม่มี Trend
  • ADX > 20 และ DI + อยู่เหนือ DI - คือ Up Trend
  • ADX > 20 และ DI - อยุ่เหนือ DI + คือ Down Trend
  • ถ้าเส้น DI + และ DU - สับไปสับมาสลับกันไป  คือ Sideway
หมายเหตุ
  • ไม่ควรใช้ ADX เป็นสัญญาณ ซื้อขาย ส่วนมากหนังสือ หรือ มีคนบอกมาว่า DI + ตัด DI - ขึ้น ซื้อ และ DI+ ตัด DI - ลง ขาย ส่วนมากไปตาย ตอน Sideway รับประกัน เจ็บหนัก 

Notes การใข้งาน Valuation PE,PBV


แนวคิดการวิเคราะห์ Valuation PE/PBV
สภาวะปกติ
  • Price ขึ้น PE ขึ้น
  • Price ลง PE ลง
สภาวะมีแนวโน้มดี
  • Price ขึ้น PE ลง = EPS เพิ่ม, กำไรเพิ่ม
  • Price นิ่ง PE ลง = EPS เพิ่ม, กำไรเพิ่ม
สภาวะมีแน้วโน้มระวัง
  • Price ขึ้น ลง แต่ PE 0 = คำนวณ PE ไม่ได้ อาจจะขาดทุน หรือ หนี้สินเยอะ
  • Price ขึ้น PE ขึ้นไปชน High PE เดิม = มันจะบอกว่าราคาสูงไปละน้า ให้ระวัง
  • Price นิ่ง PE ขึ้น = กำไรลดลง หรือ ขาดทุน
  • Price ลง PE ขึ้น = กำไรลดลง หรือ ขาดทุน
เพิ่มเติ่ม
  • กรณีเคสแปลกๆ คือ Price ขึ้น หรือ นิ่ง แล้ว PE ดันลงลึกๆ แปลกๆ คือ มันจะบอกว่าบริษัทมีกำไรที่เพิ่มขึ้นเยอะมาก เราควรจะเข้าไปดูในงบกำไรขาดทุน เพื่อดูว่ารายได้ที่ บริษัทได้มานั้น มาจากอะไร ถ้ามาจากรายได้พิเศษ อื่นๆ ที่ไม่ได้มาจากรายได้หลัก ให้ระวัง เพราะไม่ใช่ กำไรที่แท้จริง 

Notes การใข้งาน Fibonacci


Notes : การใช้งาน Fibonacci

 *การใช้งาน Fibonacci สำหรับ E-Fin
  • คลิกขวาที่ Fibo เลือก Fibo Option
  • ตั้งค่าตาม Fibo Number : 0, 23.6, 38.2, 61.8, 100, 161.8, 261.8.......
  • หลักการคิดคำนวณ เลข Fibo ถัดไป = เลขก่อนหน้า + เลขปัจจุบัน = เลข Fibo ถัดไป
    • เช่น 161.8 = 100+61.8, 261.8 = 161.8 + 100 เป็นต้น

Notes การใข้งาน Stochastic (STO)

การใช้ STO สำหรับดู High Low 
  • STO ใช้สำหรับหา High, Low เพื่อนำมาประกอบกับหลักการ Dow Theory สำหรับดู Trend
  • วิ่งจาก 20 ไป 80 = Low
  • วิ่งจาก 80 ไป 20 = High
  • ตั้งค่า % K = 5 เพื่อเอาระยะเวลา 5 วันมาคิดคำนวณ แล้วแต่ว่าแต่ละคนถนัดไหน

Notes การใข้งาน Tend & Speed Line

ฟหกดหฟกด

Notes ปรับแต่ง Indicator ใน E-Fin

 การปรับแต่งค่า Indicator ใน E-Fin
* คลิกขวาที่กราฟ แล้วจะมีแถบเมนูขึ้นมาเยอะไปหมดแล้วแต่เลือกใช้เลย
* New Panel = จะสร้างแถบ Indicator แยกจากกราฟ เช่น STO, RSI ในภาพตัวอย่าง
* This Panel = จะเป็น Indicator ในกราฟ
* Indicator = สามารถปรับสี ปรับค่าวัน ปรับความหนาของเส้น
* Use Realtime Portal Method = ปรับให้มันเอาค่าทั้งหมดมาคำนวณใน Indicator

Notes ใช้โปรแกรมดูกราฟอะไรดี

คำถามยอดฮิตว่าใช้โปรแกรมดูกราฟอะไรดี
  • ความเห็นส่วนตัวโปรแกรมสำหรับดูกราฟก็มีตั้งแต่ฟรี และ เสียเงินตั้งแต่หลักพัน หลักหลายหมื่น
  • คำถาม คือ เราสามารถทำกำไรกับมัน สำหรับพอที่จะจ่ายค่าตัวมันต่อปี ไหม
  • เวลาเปิดบัญชีกับ Broker จะมีโปรแกรมดูกราฟฟรี ให้ 2 อัน คือ Aspen กับ E-Fin
    • Aspen ส่วนตัวมันหน่วงเนื่องจากการรันของกราฟ คือรันผ่านหน้าเว็ป
    • E-Fin ส่วนตัวผมว่ามันโอเคสำหรับผม เนื่องจาก มันโหลดโปรแกรมมาติดตั้งที่เครื่องและ Get Data มาจาก Server E-Fin อีกที จึงทำให้มันลืนกว่า Aspen ผสมกับออฟชั่นที่มีมาให้มันเพียงพอสำหรับการใช้งาน หาเงินได้แล้วพอ

การใช้งาน E-Fin ตามสไตล์ MeepOohTrade

การปรับแต่งหน้า E-Fin ให้มี พท เยอะๆ
  • ส่วนตัวผมต้องการดูกราฟเลยจำเป็นต้องปรับทุกอย่างเท่าที่ E-Fin จะทำได้เพื่อให้มี พท เยอะๆสำหรับดูกราฟ เพื่อวิเคราะห์ 
  • กราฟที่ดี ควรสะอาดๆ Indicator ไม่จำเป็นต้องเยอะ เพราะเราจะดูกราฟไม่ได้ดู Indicator อิอิ
  • นี่เป็นตัวอย่างการปรับที่ผมใช้ส่วนตัวครับ ลองไปประยุคกันดูนะครับ