10 มกราคม 2558

Notes : Relative Strength Index (RSI)

ดัชนีชีวัดความเเข็งแกร่งของตลาด
Relative Strength Index(RSI)

ที่มา


--------------------------------------------------------------------------
วัตถุประสงค์
       หนึ่งในปัญหาในการวิเคราะห์ราคา(Analyzing Price) คือ ในบางครั้งราคาตลาดมีความชัดเจน บางครั้งตลาดไม่ชัดเจน แปรผัน มาจากสภาวะที่ตลาดมี ความแข็งแรง/อ่อนแรง โดยได้รับผลกระทบมาจากสภาวะโดยรวมของตลาด ทั้งภายใน และ ภายนอก ที่ส่งผลกระทบมาถึงตัวนักลงทุน

       ค่าความเเข็งแกร่ง(Relative Strength) คำนวณจากราคาเฉลี่ยนการปิดในช่วงเวลาที่กำหนด(ที่กำหนดเป็น 14 วัน) และ คำนวณราคาเฉลี่ยในช่วงเวลาปัจจุบัน

       โดยปกติจะใช้ค่า RSI 14 วัน ส่วนค่าจะมาก หรือ น้อย ขึ้นอยู่กับความไวยของดัชนี ตามที่ต้องการได้ ซึ่งทั้งนี้ สามารถปรับจูนตาม Time Frame ที่ผู้ใช้งานเล่นได้ เช่น ตลาดมีความผันผวนสูงมาก สามารปรับให้ ค่า RSI ไวยขึ้นอาจจะเป็น "RSI 7" หรือ ตลาดผันผวนปกติใช้ "RSI 14" เพียงพอ
ปล. ยิ่งค่า RSI ไวยมากเท่าไหร่ Fail Signal มักจะเยอะตามไปด้วยเป็นเรื่องปกติ

       โดยการพล็อค RSI Index 0 - 100, โดยระบุว่า ถ้า RSI สูงกว่า 70 คือ Overbought ที่บอกว่ามีปริมาณการซื้อขายมากเกินไปมักเกิดในช่วงที่ตลาด Bullish มากๆ และจำไปสู่การชะลอตัวลดลง และ ถ้า RSI ต่ำกว่า 30 คือ Oversold ที่บอกว่ามีปริมาณการขายมากเกินไป มักเกิดในช่วงที่ตลาด Bearish มากๆ เมื่อการขายจบลง ก็จะปรับตัวสูงขึ้น วนไปวนมาแบบนี้
--------------------------------------------------------------------------
ข้อดี/ข้อเสีย



                                --------------------------------------------------------------------------
การนำไปใช้
Overbought / Oversold.

Bullish / Bearish Divergence.







                                --------------------------------------------------------------------------
Ref : http://www.traderplanet.com/tutorials/view/163030-relative-strength-index-rsi/

6 มกราคม 2558

Notes : Leading and Lagging Indicator


http://www.investopedia.com/ask/answers/177.asp





RSI : http://www.traderplanet.com/tutorials/view/163030-relative-strength-index-rsi/
MACD :http://www.traderplanet.com/tutorials/view/162315-trend-indicator-moving-average-convergence-divergence-macd/
Sentiment Indicator : http://www.traderplanet.com/tutorials/view/162438-strength-and-sentiment-indicators/
Volatility : http://www.traderplanet.com/tutorials/view/162707-volatility-indicators/
ATR :http://www.traderplanet.com/tutorials/view/162842-average-true-range-atr/
OBV : http://www.traderplanet.com/tutorials/view/162657-strength-indicator-on-balance-volume/

5 มกราคม 2558

Notes: Ranging and Trending Market

Ranging and Trending Market
Ranging Market

Ranging Market / Rang-Bound Market คือ ตลาดที่ราคาวิ่งไปมาระหว่างราคาสูงกับต่ำ โดยมีราคาสูงเป็นแนวต้าน และ ราคาต่ำเป็นแนวรับ วิ่งเป็นกรอบออกข้าง (Sideway) สามารถใช้ STO มาช่วยดูการสบัดของราคาขณะเป็น Trading Rang ได้
(กรอบเล็กใช้ STO ช่วยจับ , กรอบใหญ่ สามารถใช้ RSI ในการจับกรอบใหญ่ได้) 

เพิ่มเติม
ในช่วง Ranging / Sideway จะเป็นช่วงสะสมกำลัง(Consolidate) มักจะเกิด Chart Pattern อย่างใดอย่างนึง จนกว่าราคาจะทำการ Breakout เพื่อเข้าสู่ Trending Market ต่อไป

--------------------------------------------------------------------------------------

Trending Market

Trending Market คือ ตลาดที่เป็นแนวโน้มขึ้น หรือ ลงชัดเจน ไม่มีการออกข้าง และ จะเกิดการสบัดของราคา แต่ ราคาทำ High/Low ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาด Uptrend และ ราคาทำ High/Low ต่ำลงเรื่อยๆ ในตลาด Down Trend

--------------------------------------------------------------------------------------
not recommend not sure for  Note Ref Only.

1) Trending Market: support/resistance channels, SMA, EMA, Bill Williams Accelerator Oscillator, ADX.
2) Ranging Market: support/resistance, Stochastic, ADX.

Trending Indicators

Moving average indicators provide a foundation for other trending indicators. Simple or exponential moving averages can display a short-, medium- or long-term trend as a single line on a chart. Using multiple moving averages with different settings can reveal the interplay between current trends in different time frames. Bollinger bands combine a moving average with an indicator displaying two standard deviations above and below the average. Bollinger bands not only reveal a trend direction, but they also show the highest and lowest average swing points for reversals and continuation moves within a larger trend. The MACD -- or moving average convergence/divergence -- indicator can reveal the point at which a trend is most likely to reverse by analyzing moving averages more deeply.

Ranging Indicators

Pivot points form the basis for ranging indicators. A pivot is defined as a past period on a chart that closes above the two prior and subsequent periods for an upper pivot or below the two prior and subsequent periods on a lower pivot. Pivot point indicators calculate and display the technical pivots on a chart, allowing investors to quickly identify likely ranges in consolidation periods. Momentum-based indicators, such as a stochastic oscillator and the relative strength index, or RSI, can help you to pinpoint moments of unusually high momentum within a range that can reveal the points at which price is primed to break out of a consolidation zone and head back into a trend. The term "stochastic" simply refers to a system in which one or more variables is uncontrollable, and "oscillator" refers to any indicator whose visible output moves back and forth between an upper and a lower range. Both stochastics and RSI are considered momentum-based oscillators. As the line begins to move downward from the upper range, it can signal that the price is likely to drop soon, and as the line moves upward from the lower range, it can signal the opposite.


Ref : http://www.traderplanet.com/

28 พฤศจิกายน 2557

Notes : Cycle Price

Relative Strength Index (RSI)
- ดูสภาวะ Overbought(OB) / Oversold(OS)
- ดู "รอบ" ของราคา
- ดู "กรอบ" ของราคา
OS > OB = Low or wC ของรอบ
OB > OS = High ของรอบ
OS > OB = Low ของรอบ

Cycle Price

การดู Trend 
Uptrend = OS > OB > OS (ราคาทำจุดต่ำสุด และทำ HL > HH)
DownTrend = OB > OS > OB (ราคาทำสุดสูงสุด และ ทำ Lower High > Lower Low)


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Moving Average Congergence/Divergence(MACD)




Ref
*https://www.tradingview.com/stock-charts-support/index.php/Relative_Strength_Index_%28RSI%29
*https://www.tradingview.com/stock-charts-support/index.php/MACD_%28Moving_Average_Convergence/Divergence%29
*http://www.traderplanet.com/tutorials/view/163030-relative-strength-index-rsi/

26 พฤศจิกายน 2557

Notes : Elliott Wave Summary

Elliott Wave Theory
       Elliott Wave ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก Dow Theory อีกที การนับ Wave อะไรที่ขัดกับหลักการ Dow Theory ให้มองว่านับผิดต้องนับใหม่
"การดูรอบ = การดูคลื่น" ดังนั้น "การนับคลื่น = การนับรอบ"

    Impulse คือ การเคลื่อนตัวของราคาในหน้าเดียวกับ "Tide" และ ไม่ใช่การเดินราคาของขาขึ้น
    Correction คือ การย่อในขาขึ้น หรือ การเด้งในขาลง หรือ "SR" ใน Dow Theory
      *Impulse = w1, w3, w5, wC
      *Correction = w2, w4, wB
Fractals Elliott Wave
   Fractals คือ Wave ซ้อน Wave หรือ เรียกว่า sub wave
   การสังเกตุ Fractal ตาม Wave Concept คือ ขาขึ้น 5 ลง 3
        ** หน้า "Tide" จะมีการเดินของ w1, w2, w3, w4, w5 
        ** หน้า "SR" จะลงด้วย wA, wB, wC
        ** Cycle = รอบแม่ที่ครอบ Primary (รอบหลัก) 
        ** Primary or Major = รอบหลักดูจากการที่ RSI ลงมาจบรอบที่ TF นั้น
        ** Intermediate = Sub Wave ที่อยู่ใน Primary หลัก 

กฏของ Elliott Wave
  1. Wave 3 ต้องไม่สั้นที่สุด(แต่ไม่จำเป็นต้องยาวที่สุด)
  2. Wave 2 ต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของ Wave 1 แต่เท่ากันได้
ข้อสังเกตุ(แค่มักจะเป็นอย่างนั้น แต่ไม่เป็นก็ได้)
  1. Wave 1 อาจมี 3 sub-wave ได้
  2. Wave 2 และ Wave 4 มักสลับทรงกัน คือ ถ้า w2 เป็น simple แล้ว w4 จะเป็น Complex
  3. Wave 4 ไม่ควร Overlap ยอด Wave 1
  4. Wave 5 มักจะสูงกว่า Wave 3 ยกเว้นกรณี Failed 5 ที่ Wave 5 ต่ำกว่า Wave 3
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

18 ตุลาคม 2557

Notes : Japanese Candlestick

CandleStick Pattern
Star : เป็นการยืนยัน โดยใช้ 3 แท่งเทียนช่วยยืนยัน และ ในวันที่ 2 ของ Star มักจะเปิดและ เปิด ต่ำ หรือสูงกว่าวันแรก และ วันที่สามจะเป็นตัวยืนยันการกลับตัว พอรวมแท่งแล้วจะเกิด Hammer อย่างใดอย่างนึง
Three Candle : เป็นรูปแบบการเห็นฟ้องกันในทางเดียวกัน พอรวมกันจะได้ Big W/B CandleStick
Hammer : เป็นแท่งเทียนที่สื่อว่าแรงฝั่งไหนชนะ ถ้าเกิดตอนเทรดขาลงแล้วเกิด Hammer คือ ราคาถูกเทขายอย่างหนักแต่ตอนจบดันเกิดแรงซื้อสวนขึ้นมาจนเนื้อแท่งเทียเหลือน้อยแสงว่าแรงซื้อชนะ
แต่ถ้าไปเกิดบนแนวต้าน คือ ราคาขึ้นมาเรื่องๆ สักพักถูกแรงขายทุบกลับมาจนไส้ยาวๆ และ เหลือเนื้อเทียนนิดเดียวแสดงว่าแรงขาย ชนะ
Hammer / Inverted Hammer / Shooting Star  
ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร สุดท้ายมันคือ Hammer ที่จะบอกว่าสุดท้ายแรงไหนชนะ และ จะขึ้นอยู่กับว่า Hammer นี้ไปเกิดตรงต้านหรือแนวรับ ถึงจะมีนัยยะสำคัญ

 
 Doji คือ ไม่ว่าจะโดจิแบบมีเนื้อหรือไม่มีเนื้อ มันก็คือ โดจิ ที่สื่อว่าแรงซื้อกับแรงขายยังไม่เลือกข้างแบบชัดเจน เลยต้องรอให้ แท่งต่อไปช่วยยืนยัน

Engulfing : เรียกว่าแท่งวันนี้กินแท่งวันก่อนหน้า แสดงว่าแรงวันนี้ชนะแรงเมื่อวาน พอรวมเเท่งแล้วก็จะเกิด Hammer 
 Piercing คือ ราคาถูกเทขายลงมาและอีกวันเปิดต่ำกว่าวันแรกและ ถูกแรงซื้ออัดสวนกลับขึ้นไปจนชนะแรงขาย หรือ มากกว่า 50% ของเเท่งก่อนหน้า เมื่อรวมกันจะเป็น Hammer เพื่อยืนยันว่าแรงซื้อชนะแรงขาย
 Dark Cloud หรือ Invert Piercing คือ ราคาขึ้นไปเรื่อยๆ และ อีกวันราคาเปิดกระโดด และ ถูกเทขายจนเกิดเป็น Invest Hammer หรือ Shooting Star เพื่อจะซื้อว่าแรงขายชนะ


Three Inside Up : จะเกิดช่วงที่ราคาเป็น Down Trend คือ ราคาถูกเทขายลงมาเรือยๆๆ และ วันต่อเปิดสูงกว่าวันก่อนหน้าและมีแรงซื้อกลับ และ วันที่สามมีเเรงซื้อกลับจนราคาตอนปิดสูงกว่าวันแรก ทำให้เกิดเป็น แท่ง Hammer เหมือนแรงซื้อชนะแรงขาย

Three Inside Down : จะเกิดช่วงที่ราคาเป็น Up Trend คือ ราคาขึ้นอยู่ดีๆ และ วันต่อไปเปิดต่ำกว่าวันแรกและถูกเทขาย แต่ยังไม่แน่ใจ วันที่สามจะช่วยยืนยัน โดนแรงที่เทขายอีกจนเกิดเป็น Invest Hammer หรือ Shooting Star เพื่อจะซื้อว่าแรงขายชนะ

Blending Candlestick
 
     Blending Candlestick คือ การรวมแท่งเทียน มากกว่าหนึ่งแท่งเป็นแท่งเดี่ยวเพื่อยุบรวมเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาในตลาด โดยส่วนมากเวลายุบเเท่งเทียนมักจะเห็น เป็นหลักๆ 3 อัน ได้แต่ Hammer , Shooting Star และ Big White/Black Candle เป็นต้น

แต่หลักการเราต้องมาวิเคราะห์เฉพาะแนว SAR ที่สำคัญ ถึงจะมีนัยยะสำคัญ ไม่ใช่รวมมันทุกแท่ง
  • เกิด Hammer ที่แนวรับ ถือว่าดีมาก โอกาสกลับตัวขาขึ้นมีเยอะ
  • เกิด Shooting Star ที่แนวต้าน หรือ บนยอดขอ UpTrend โอกาสกลับตัวขาลงก็มีสูง
  • เกิด Big W/B CandleStick จะช่วยบ่งบอกถึงการเห็นฟ้องในทางนั้น
ตัวอย่างการรวมเเท่งเทียน

  
Assumption
  • การให้นัยยะสำคัญของ CandleStick Bull/Bearish Pattern คือ เราจะน้ำหนักเฉพาะ แนวรับ แนวต้าน หรือ แนว Fibo Level  คือ เมื่อเกิดการกลับตัวตามแนวดังกล่าวมักจะมีนัยยะสำคัญ หรือ อาจจะมีการย่อพักตัวขอราคา เท่านั้น
  • เมื่อเราเห็นจุดกลับตัวที่มีนัยยะนั้น และ นำมาประกอบกันก็จะเกิดเป็น Chart Pattern หรือ Trading Rang  และ ถ้าเกิดมีการ Breakout ตามแนวนัยยะ(Chart Pattern or Trading Rang) นั้นๆ มักจะเป็นจุดที่ราคาจะเลือกฝั่งว่าจะขึ้นหรือลง คือเกิด Trend นั่นเอง
ข้อควรละวัง
  • การที่ราคาขึ้นไปชนแน้วต้าน แล้วเกิด CandleStick Bullish/Bearish Pattern ไม่ได้หมายว่า Trend จะเปลี่ยนจากขาขึ้นเป็นลง หรือ ขาลงเป็นขึ้น แต่มัน แค่บอกว่าจุดที่มีการกลับตัวของ Candle Pattern นั้น มีนัยยะสำคัญ
 Scenario 



Ref TH : http://www.richerstock.com/candlepattern/piercing.htm
Ref EN : http://stockcharts.com/school/doku.php?id=chart_school:chart_analysis:introduction_to_candlesticks
Ref EN : http://www.candlecharts.com/bearish-candlestick-patterns.html


5 กันยายน 2557

Notes : Ellliott Wave Theory


Credit by CDC ขอขอบคุณสำหรับความรู้ที่แบ่งปันให้เพื่อนนักลงทุนครับ

Notes : Applied Ellliott Wave


Credit by CDC ขอขอบคุณสำหรับความรู้ที่แบ่งปันให้เพื่อนนักลงทุนครับ

6 สิงหาคม 2557

Notes หลักการ Elliott Wave Theory

Elliott Cycle Wave

     1 Cycle จะประกอบไปด้วย 8 Wave ซึ่งจะแยกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ส่วน Motive(ขาขึ้น) 5 Wave{1,2,3,4,5} และ Corrective(ขาลง) 3 Wave{a,b,c} เป็นต้น

Elliott Wave   จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่สำคัญเสมอ
1. Pattern Recognition คือ Motive 5 Wave, Corrective 3 Wave
2. Fractals คือการกำหนด Degree แบ่งความลึก และ Timing Cycle ดังภาพล่าง

21 กรกฎาคม 2557

The Fountain of Gold - The Three Monkey Record of Money.

1. See No Evil _ When you see a bullish(bearish) tren,  do not get caught up in it; consider it an opportunity to sell(buy).

2. Hear no evil  _ when you hear bullish or bearish news, don't trade on it.

3. Speak no Evil _ Don't speak to others about what you are going to do in the market.

Ref. Beyond Candlesticks.

15 กรกฎาคม 2557

Notes การใช้งาน Price Action

Price Action มี 2 ประเภทได้ แก่ 1. Candlestick Pattern และ  2. Chart Pattern

Top Candlestick Pattern
Candlestick Pattern

11 กรกฎาคม 2557

Notes การใช้งาน ATR

ATR Number : 8, 14, 20
ATR คือ เป็นการคำนวณความต่างของราคาในแต่ละวัน เพื่อวิเคราะห์ความผันผวนของราคาที่เกิดขึ้น ATR จะช่วยบอกว่า ณ ตอนนี้ ความผันผวนสูงไหม น้อยไหม
**ยิ่งความผันผวนน้อยมากๆ จุด Stoploss ก็ยิ่งใกล้ ความเสี่ยงไม้ ที่เข้าก็ยิ่งต่ำ หรือ ปลอดภัยนั่นเอง
**ควรดูกรอบ ATR Rang นั่นๆ ใช้ ATR ที่ใกล้เคียง หรืออยู่ในกรอบมา ชี้วัดว่ามันต่ำนะ

 

 Ref: http://luihoon.blogspot.com/2013/10/average-true-range-atr.html

8 กรกฎาคม 2557

Notes Concept การคำนวณสูตร Indicator

Momentum
การเอาราคาวันนี้กับราคาเมื่อวานมาคำนวณ หาส่วนต่างของราคา

Momentum มีบทบาทกับ Trend และ Trend ส่งผลให้ราคาเปลี่ยน
Momentum ไม่มีผลกับ Price


ส่วนต่าง OB OS Zone >>>
การคำนวณราคา >> Trend Following
การคำนวณส่วนต่างราคา >>> Momentum
STO RSI MACD CCI STORSI

Trend จะมีผลลัพกับ Price มี Dynamic Support
Momentum เอา Trend มาคำนวณส่วนต่าง
Momentum จะบอก ว่าเป็น PP หรือ ไม่เป็น PP มีผลกับ Trend ที่มีผลแฝงกับ Price

ดู Momentum >> ดู Trend >> Price Pattern

Momentum >> ดูกำลังของมัน ราคาจะขึ้นไปอีกระดับนึงมันต้องมี แรงส่ง










3 กรกฎาคม 2557

Notes การใช้งาน Money Management


ตัวอย่าง MM

ทุน 1,000,000
สำรอง 10% = 100,000
เทรด 90% = 900,000
กระจายความเสี่ยง ในหุ้นหลายตัวตามชอบ เช่น 3 ตัว
900,000/3 = 300,000 ต่อตัว
แบ่งไม้เข้า 2 = 70/30% หรือ 3 ไม้ =  50/30/20 %  ของหน้าตัก 300,000
ความเสี่ยง ก็คุมเอา เพราะตอนขาดทุนจะขาดทุนในส่วนของหน้าตัก 70 หรือ 50% ในไม้แรกที่ลงทุนไป
ถ้าไม้แรก ขาดทุนก็เอาเงินที่สำรองมาเติม หลักสำคัญ ห้ามเทรดจำนวณน้อยลง พยายามคุมความเสี่ยงไม่ให้เกิน 10-15% ต่อใม้ เพราะตอนเอาคืนจะลำบาก
ปล ต้องปรับจนเป็นแบบที่เรารับได้และพอใจที่จะเสี่ยงน่ะ 

Notes การใช้งาน Volume

dgxb

1 กรกฎาคม 2557

Notes หน้ากราฟที่ดี

  • หน้ากราฟที่ดีควรเป็นหน้ากราฟที่สะอาดๆ เพื่อดูง่ายๆ
  • เครื่องมือไม่จำเป็นต้องใส่เยอะ มันตีกันเอง
  • จะดูกราฟ หรือ จะดู Indicator
  • ถ้าภาพกราฟเพียวๆ ไม่ชัด ค่อยหา Indicator เข้ามาเสริม
  • ราคา คือ พระเอก เครื่องมือเป็นพระรอง เครื่องมือหลายๆ ตัวเป็นตัวประกอบ
หมายเหตุ
       ผมเคยเป็นแบบกราฟแรกมาก่อน อ่านหนังสือมากับอ่านบล็อคกระทู้ๆ ต่างๆ นาๆ เม่งใส่ Indicator เต็มหน้ากราฟเลย ความรู้สึกคิดว่าเม่งเทพแน่นอน อะไรเต็มไปหมด งงดี แต่เราคิดว่าเม่งเทพเม่งใส่เครื่องมือเยอะ แต่ผิดเลย ถ้าเราใส่เครื่องมือเยอะมากๆ สัญญาณต่างๆ มันจะตีกัน เราจะสับสน การมองกราฟเพื่อตีโจทย์ ก็จะแย่ตามไปด้วย เพราะมันโดนบีบ แนะนำว่าอยากใช้อะไร หยิบมาเท่าที่ใช้ พอ ใช้หาเงิน ไม่ได้ใช้สำหรับอวดคนอื่น

ปล. ผมชอบนิยาม สูงสุด คืน สู่สามัญ Back to Basic มากกว่าครับ
      ใช้เครื่องมือให้น้อยแต่ความเข้าใจให้เยอะ ดีกว่า เยอะแต่จับฉ่าย เอาเงิน ไม่เอาโล่ จบป่ะ

29 มิถุนายน 2557

Notes การใข้งาน Exponential Moving Average (EMA)

Notes การใช้งาน EMA ที่สังเกตุมา
  1. ใช้ EMA ดู Trend
  2. ใช้ EMA ดูทิศทางกระแสน้ำไหล
  3. ใช้ EMA เป็น Buy&Sell Signal
  4. ใช้ EMA เป็น Trailing Stop Loss
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ใช้ EMA ดู Trend
  • ใช้ EMA 89 ในการ Confirm Trend 
  • Price เหนือเส้น EMA 89 = Up Trend
  • Price ต่ำเส้น EMA 89 = Down Trend
2. ใช้ EMA ดูทิศทางกระแสน้ำไหล
  • ส่วนตัวนะครับ เวลาราคาลงมาแรงๆเปรียบทับน้ำตก ตกปั๊บ น้ำกระเฉาะ ต้องรอมันมันสะเด๊ดสะก่อนค่อยเข้าไป 
  • ซื้อตอนราคามันขึ้นมายืนเหนือ เส้น EMA 89 ค่อยเข้าไป
  • น้ำตกยิ่งแรงยังไม่ควรรีบเข้า เพราะ ตอนมันเด้ง ส่วนมากมักลงต่อ
  • EMA 89 ใช้ดูทิศทางของกระเเสน้ำที่มันกำลังจะไหลไป จิตนาการว่าเป็นกระแสน้ำ

     คำถามในใจ
  • แบบนี้ก็ซื้อแพงสิ ใช่แพง แต่มีโอกาสขึ้นเยอะกว่า
  • แบบนี้ก็ทะย่อยซื้อหุ้นที่ต่ำกว่า EMA 89 ก็ได้ต้นทุนถูกนิ ใช่แต่ไม่รู้ว่ามันจะลงอีกเยอะไหม
  • แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าจะขึ้นจริง Dow Theory บอกว่า Break High คือ ขึ้น
  • ถ้า Break แล้ว Fail ละทำไง ก่อนซื้อมีจุด Cut loss ก่อนเสมอ

3. ใช้ EMA เป็น Buy&Sell Signal
  • ทดสอบใช้ EMA 5 + EMA 15 หรือ EMA 15 + EMA 30 แล้วแต่จะเลือก
  • ภาพแรก มี Trend ใช้ EMA ได้
  • ภาพสอง Sideway ใช้ ถือไปเกิดสัญญาณซื้อ ขาย สุดท้ายทำไปไม่ได้กำไรเสียเวลา


4. ใช้ EMA เป็น Trailing Stop Loss
  • ใช้ได้เฉพาะตอนเป็น Trend ถึงจะใช้ EMA13 หรือ "34" เป็น Trailing Stops
    • ถ้าคนเคยเรียกกับครูหยง เค้าจะแนะนำให้ใช้ EMA 34 เป็น Trailing Stops ขณะ Run Trend
    • ถ้าไม่มี Trend ไม่ใช้ ( Trend Up กับ Down เท่านั้น Side way ใช้ไม่ได้ )

* ใช้ EMA ดูต้นทุนของนักลงทุน
  • EMA 13 > ต้นทุนระยะสั้น "ครึ่งเดือน" ที่ผ่านมา
  • EMA 34 > ต้นทุนของนักลงทุนรายย่อยในระยะเวลา "เดือนครึ่ง" ที่ผ่านมา
  • EMA 89 > ต้นทุนของกองทุน ในระยะเวลา "6 เดือน" ที่ผ่านมา
ข้อจำกัด
  • ไม่ควรใช้ EMA ในสภาวะตลาด Sideway หรือ ราคาวิ่งในกรอบ
จุดสังเกตุ
  • ทิศทาง
    • ความชันของเส้น EMA 89 ถ้ามันดิ่งลง แบบ 2,3 อย่าไปยุ่งเพราะกระเเสมันเเรง
    • ความชันของเส้น EMA ชัดขึ้น แบบ 1 Run Trend อย่ารีบขาย
    • ความชัดของ EMA ออกแนวป้านๆ แบบ 3 ให้ พยายาม หา Pattern แสดงว่าแรงเริ่มหมด ก็จะเกิด Sideway และ มองว่า มันจะเลือกข้างไหน การตี Trend Line ที่ดี ควรจะออกแนวป้านๆๆ ดังภาพ ให้ออกแนวป้านๆๆ
    •  สังเกตุหุ้นที่ ขึ้นมาเทส หรือ มาพักบนเส้น EMA 89 ก่อน Breakout ค่อยเลือก
    • พยายามสังเกตุ เส้น EMA ว่ามันชัดมากแสดงว่ามีแรงมาก ชัดน้อย เริ่มนิ่งๆ
  •  มิติของ EMAโดยประมาณ
    • TF Week 13 >> TF Day 34
    • TF Week 34 >> TF Day 89
    • TF Week 89 >> TF Day 233
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปล. จากตัวเลขข้างล่างจะเห็นว่า ค่าเฉลี่ยของวันตัวเลขจะใกล้ๆ กัน
{ 13, 15},{ 34, 35}, { 75, 89, 90 } , { 200, 233}
อนุมานว่าเป็น Sub Set เดียวกัน แล้วแต่ว่า แต่ละคนชอบเลขไหน ( ใช้อะไรได้เงินก็ใช้อันนั้น )
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
EMA by P.Yong
EMA 13
EMA 34
EMA 89
EMA 233
Ref : อ้างอึงเลข Fibonacci ศิลปะเเห่งเลข อิอิ Art อิอิ ขอ Art ด้วยคน อิอิ
Ref : ศึกษาแนวคิดพี่เค้าได้จาก
Ref : http://monkeytrade.blogspot.com/
Ref : หนังสือ หยงเกิดมาเทรด >> เป็นหนังสือที่เค้าเขียนจากประสบการณ์แนวจิตวิทยา และ แนวคิด
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
EMA by P.Pui
EMA 5
EMA 15
EMA 35
EMA 90
EMA 233
Ref : อ้างอึงจากที่ทางพี่ปุ่ยเค้าทดลองใช้จริง
Ref : http://waveridersclub.blogspot.com/
Ref : หนังสือ โต้คลื่นรู้ทันเทคนิค 1,2 อิอิ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
EMA by P.เปี้ยก CIMB
EMA 5
EMA 20
EMA 50
EMA 75
EMA 200
Ref : สามารถอ่านเพิ่มเติมจากหนังสือ "แมงเม่าสำราญ"

28 มิถุนายน 2557

Notes การใข้งาน Chart Pattern

Notes : Chart Pattern Update 30/06/2557

*Chart Pattern คิอ การบีบตัวของราคา จนก่อเกิดรูปแบบใดรูปแบบนึง ก่อนที่จะเลือกฝั่งว่าจะ ขึ้น      หรือ ลง ตามทิศทางที่ Breakout นั้นๆ เมื่อเกิดการ Breakout มักจะวิ่งไป Fibonacci อย่างน้อย 261.8

*Chart Pattern ส่วนใหญ่มักจะเกิดเฉพาะตอนที่ตลาดเป็น Sideways เพราะ ระหว่างที่ราคาไม่ไปไหน ราคาก็มักจะวิ่งในกรอบ และ จะบีบตัวเรื่อยๆ ก็จะเกิดการสะสมของราคาจนก่อเกิดเป็น Pattern ต่างๆ แล้วก็ Break Out ในที่สุด

Notes ทฤษฎีดาว(Dow Theory)

ทฤษฎีแม่แบบ Dow Theory
1. The Averages Discount Everything.
    * ราคาได้ซึมซับปัจจัยพื้นฐาน หรือ ข่าวไว้หมดแล้วในอดีต
    * ราคาซึมซับมุมมองและพฤติกรรมไว้หมดแล้วของ Demand & Supply
    * พฤติกรรมของราคาจะเหมือนเดิมตราบเท่าที่คนคุมคนเดิมยังอยู่ ถ้าเปลี่ยนคนคุมพฤติกรรมราคาจะถูกเปลี่ยนแปลงจากเดิม เพราะ "สันดาน" คนไม่เปลี่ยนแปลง
    ** หลายๆครั้งราคาจะถูกบิดเบือนความเป็นจริง เพราะ "โลกของทุนนิยม" คนมีทุนเยอะสุดสามารถทำราคากราฟเป็นในรูปแบบไหนก็ได้ จึงต้องใช้องค์ประกอบอื่นๆช่วยวิเคราะห์เพิ่มอีกที เช่นดู Trend ในภาพใหญ่ประกอบเพราะสุดท้าย กำลังแรงจะเคลื่อนที่ไปในภาพใหญ่เสมอ เป็นต้น
    ** เมื่อราคามีการขึ้น หรือ ลงสูงสุด สุดท้ายมันจะกลับมาจุดสมดุลที่มันควรเป็น โดยมีพื้นฐานบริษัท, เศรษฐกิจโดยรวม, สถานะการณ์ต่างๆเป็นตัวแปลขับเคลื่อนอีกที

2. The Market is comprised of three trend.
(การเดินทางของราคาแบ่งออกเป็น 3 จังหวะหลักๆ ประกอบด้วย 1.Tide 2.SR และ 3.Ripple )
  1. Primary Tide : ทิศทางหลัก
    * Tide คือ การเดินทางของราคาที่เป็น Trend ชัดเจน
    * ระหว่างการเดินทางของราคามักจะมีการย่อ(Ripple) เกิดขึ้นระหว่างทาง แต่การย่อมักไม่ Overlap High ก่อนหน้า
    * สามารถใช้ EMA 34 ในการช่วยเกาะ Tide หรือ Trend หลักดีได้พอสมควร 
  2. Secondary Reaction(SR) : การพักฐานระหว่างทาง
    * SR เป็นการย่อ หรือ การพักฐานใหญ่ของราคาที่ขึ้นมาทั้งหมดในหน้า Tide
    * การพักฐานใดๆ มักจะย่อมาประมาณ Fibonacci Retracement 38 - 61.8 ของราคาที่ขึ้นมาทั้งหมด
    * ยืนยันการจบ SR กำลังของราคาต้องลงมาจบรอบ (RSI : OS > OB > OS > OB หรือ RSI เลี้ยงบน 50 และ ราคาเป็น PP ถือเป็นการจบรอบ SR เข้า Phase Tide อีกรอบ )
    * เมื่อเกิดการจบ SR สามารถหา Continue Pattern ใน Tide หลัก ถ้าไม่มี Pattern ให้สลับ TF ไปในที่เล็กกว่าเพื่อหา Reversal Pattern
    * การย่อแต่ละครั้งเราสามารถวัด "% การเปลี่ยนแปลง" ขอการย่อเพื่อวิเคราะห์ว่าการย่อนี้เป็นของ Tide เล็กที่ขึ้นมา หรือ เป็นการย่อของ Tide ใหญ่ทั้งหมด
    * การยืนยันการจบ SR เพื่อกลับไปขา Tide คือการที่ ราคา Break High เดิมสูงสุด หรือ การBreak High ล่าสุด และ พักเหนือ High ก่อนหน้า
    * การเกิด SR สามารถเกิดได้ 2 แบบ
       1. เกิดตามแกนราคา คือ ราคาย่อมาประมาณ 38.2 หรือ 61.8 ของราคาที่ขึ้นมา
       2. เกิดตามแกนเวลา คือ ราคาขึ้นมาและออกข้างยาว
  3. Ripple/Noise : การย่อเล็กๆ น้อยๆ
    * Ripple คือการย่อระหว่างทางที่ราคาเป็น Tide และ เกิดแรงขายเล็กๆน้อย ที่ทำให้เกิดการย่อมาเล็กน้อย
    * Ripple ใน TF ใหญ่มักจะเป็น SR ของ TF ที่เล็กกว่า
       เช่น เกิด Ripple ใน TF Week ที่ดูเหมือนลงน้อย แต่พอสลับไปใน TF Day จะเห็นเหมือนการย่อระดับ SR ใน TF Day เป็นต้น

3. Primary trends have three phase.
(ทิศทางราคา Trend จะถูกเเบ่งออกเป็น 3 ช่วง).
  1. Public Participation(PP) : ช่วงที่คนส่วนมากขอร่วมด้วย พฤติกรรมราคาจะขึ้นเป็น Trend ชัดเจน
  2. Accumulation(Accu) : ช่วงเก็บของหรือสะสมของ คือ ราคายำๆๆ และ Break High
  3. Distribution(Dist) : ช่วงปล่อยของ สังเกตุได้จากการที่ราคาขึ้นมาแล้วพักใหญ่ๆ คนที่มีของต้นเริ่มทยอยขายทำกำไร ราคายำๆ และ Break Low

Assumption
  ** Phase Accu/Dist คือช่วง Consolidate(ราคาบีบตัว) และ Breakout เพื่อเลือกข้างทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
  ** Continue and Reversal Pattern หาเฉพาะตอนที่ราคามีการ Consolidate กับ SR เท่านั้น ช่วงราคาเป็น PP ไม่ต้องหา
  ** การเกิด PP สังเกตุได้จากการย่อมาพักฐานเหนือ High ก่อนหน้า และ Break High ก่อนหน้าดังภาพล่าง
  ** ราคาจะหมดความเป็น PP ขาขึ้น ก็ต่อเมื่อราคามีการลงมาต่ำกว่า High ก่อนหน้า(Overlap High ก่อนหน้า)
  ** ราคาจะหมดความเป็น PP ขาลง ก็ต่อเมื่อราคามีการขึ้นไปสูงกว่า Low ก่อนหน้า(Overlap Low ก่อนหน้า)
  ** เมื่อราคา Overlap ทำให้ราคาหมดความเป็น PP เราสามารถหา กรอบ หรือ Pattern ได้

4. The Averages must confirm each other.
(ค่าดัชนีตลาด / หมวดอุตสาหกรรม ควรไปในทิศทางเดียวกัน).
   * ข้อสังเกตุเดิมบอกว่าถ้าเศรษฐกิจดี Industrial Index และ Transport Index ต้องดีด้วยเพราะเมื่อก่อนเศรษฐกิจจะดีการคมานาคมการขนส่งต้องดีตาม เพราะเมื่อก่อนติดต่อค้าขายกันผ่านการคมาคมช่องทางเดียว ปัจจุบันมีช่องทางการค้าหลายรูปแบบจึงไม่จำเป็นเสมอไป
   ** ปัจจุบันใช้การเปรียบเทียบ SET กับ Sector และ Stock กับ SET เพื่อวิเคราะห์ความแข่งเเกร่งของตลาดและสินค้านั้นๆ เช่น SET Index ทำ New Low แต่หุ้นหรือSector นั้นไม่ทำ New Low เเสดงว่าหุ้นนั้นแกร่งกว่า และถ้าหา SET ใกล้จะ Break แต่ Stock/Sector นั้น Break ไปก่อนแสดงว่า Stock/Sector นั้น Bullish กว่า
   ** ใช้การเปรียบเทียบเพื่อหาความ Bullish/Bearish กว่าในเชิงตรรกะ

Sector Bearish Sentiment.

Sector Bullish Sentiment.

ข้อสังเกตุ
 - เราหา Sector ที่มี Market Bullish Sentiment ที่ดี คือคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ และ ค่อยถึงไปคัดเลือกหุ้นในกลุ่มที่คนสนใจอีกที
- การเข้าไปเล่นใน Sector ที่ Market Bearish Sentiment หุ้นส่วนมากจะลง หรือ นิ่งเพราะคนไปสนใจกลุ่มอื่นอยู่


5. The volume confirms the trend.
(ในการเกิด Trend จริงจะต้องมี Market Volume จะตามมาด้วย).
   * ทฤษฎี Dow เน้นหลักการในการเคลื่อนไหวของราคาเป็นหลัก(Price Action)
   * Volume ถูกนำมาใช้สำหรับช่วยยืนยันสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน สื่อประมาณว่าคนส่วนมากเห็นไปในทางเดียวกันหรือไม่(แต่ปัจจุบัน คนมีทุนเยอะสามารถสร้าง Volume เองได้ต้องดูอย่างอื่นประกอบอีกที)
   * Volume จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามทิศทางของแนวโน้มหลัก เช่น ตลาดขาขึ้น Volume จะค่อยเพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นถึงคนเริ่มสนใจในสินค้าตัวนี้ที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น
 ** ทั้งนี้การใช้ Volume อาจจะช่วยยืนยันได้ ณ จุดจุดนึง แต่ควรดูรายละเอียดอื่นๆ ช่วยประกอบอีกที

6. A Trend Remains intact until it gives a definite reversal signal.
(Trend จะไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเกิดสัญญาณกลับตัวอย่างชัดเจนเกิดขึ้น).
  * Uptrend : ราคาเป็นขาขึ้นไปเรื่อยๆจนกว่าจะเกิด Bearish Chart Pattern
  * Downtrend : ราคาเป็นขาลงมาตลอดจนกว่าจะเกิด Bullish Chart Pattern
  ** ดูแนวโน้มการเคลื่อนของราคาไปเรื่อยๆ ในหน้า Tide หลัก จนกว่าจะเกิด Reversal Chart Pattern ถึงจะยืนยันการเปลี่ยนเทรนจริง 
  ** ถ้าราคายืนเหนือ EMA 89  Bias Uptrend.
  ** ถ้าราคาอยู่ใต้ EMA 89 Bias Downtrend.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Dow Theory : Up & Down trend



HL > HH > HL > HH = Uptrend
LH > LL > LH > LL = Downtrend
** สามารถใช้ STO(5,3,3) มาช่วยจับ High Low ที่มีนัยยะได้ในเคสที่ภาพไม่ชัด
  *STO : OS ไป OB = Low , STO : OB ไป OS = High 
      ** OS > OB > OS > Break High ได้ 1 รอบ ราคา ขาขึ้น
      ** OB > OS > OB > Break Low ได้ 1 รอบ ราคา ขาลง 
  *RSI / MACD : OS ไป OB = Low , STO : OB ไป OS = High 
      ** OS > OB > OS > Break High ได้ 1 รอบ Trend ขาขึ้น
      ** OB > OS > OB > Break Low ได้ 1 รอบ Trend ขาลง 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Dow Theory : Buy & Sell Signal
 Break High >> Buy
 Break Low >> Sell
 **ต้องดู Momentum & Trend & Price Action & Valuation PE and Volatility Price เพื่อดู High

Ref : http://www.robertwcolby.com/dowtheory.html
Ref : http://www.marketinout.com/technical_analysis.php?id=43
Ref : Credit P.Tip & ครูหยง

Notes การคำนวณ Reward to Risk Ratio

Target Price by Valuation PE, PBV Target.
Target Price by Technical Target.

Notes การใข้งาน Multi Time Frame

fdsgdfg

Notes การใข้งาน Point & Figure (PnF)

sfdsf

Notes การใข้งาน ADX

Average Directional Index

 
 
หลักการใช้งาน ADX ตามหลักการ
  • ตามหลักการบอกไว้ว่า ถ้าสัญญาณ ADX > 20 คือมีเทรน
  • ถ้า ADX < 20 คือ ไม่มี Trend
  • ADX > 20 และ DI + อยู่เหนือ DI - คือ Up Trend
  • ADX > 20 และ DI - อยุ่เหนือ DI + คือ Down Trend
  • ถ้าเส้น DI + และ DU - สับไปสับมาสลับกันไป  คือ Sideway
หมายเหตุ
  • ไม่ควรใช้ ADX เป็นสัญญาณ ซื้อขาย ส่วนมากหนังสือ หรือ มีคนบอกมาว่า DI + ตัด DI - ขึ้น ซื้อ และ DI+ ตัด DI - ลง ขาย ส่วนมากไปตาย ตอน Sideway รับประกัน เจ็บหนัก 

Notes การใข้งาน Valuation PE,PBV


แนวคิดการวิเคราะห์ Valuation PE/PBV
สภาวะปกติ
  • Price ขึ้น PE ขึ้น
  • Price ลง PE ลง
สภาวะมีแนวโน้มดี
  • Price ขึ้น PE ลง = EPS เพิ่ม, กำไรเพิ่ม
  • Price นิ่ง PE ลง = EPS เพิ่ม, กำไรเพิ่ม
สภาวะมีแน้วโน้มระวัง
  • Price ขึ้น ลง แต่ PE 0 = คำนวณ PE ไม่ได้ อาจจะขาดทุน หรือ หนี้สินเยอะ
  • Price ขึ้น PE ขึ้นไปชน High PE เดิม = มันจะบอกว่าราคาสูงไปละน้า ให้ระวัง
  • Price นิ่ง PE ขึ้น = กำไรลดลง หรือ ขาดทุน
  • Price ลง PE ขึ้น = กำไรลดลง หรือ ขาดทุน
เพิ่มเติ่ม
  • กรณีเคสแปลกๆ คือ Price ขึ้น หรือ นิ่ง แล้ว PE ดันลงลึกๆ แปลกๆ คือ มันจะบอกว่าบริษัทมีกำไรที่เพิ่มขึ้นเยอะมาก เราควรจะเข้าไปดูในงบกำไรขาดทุน เพื่อดูว่ารายได้ที่ บริษัทได้มานั้น มาจากอะไร ถ้ามาจากรายได้พิเศษ อื่นๆ ที่ไม่ได้มาจากรายได้หลัก ให้ระวัง เพราะไม่ใช่ กำไรที่แท้จริง 

Notes การใข้งาน Fibonacci


Notes : การใช้งาน Fibonacci

 *การใช้งาน Fibonacci สำหรับ E-Fin
  • คลิกขวาที่ Fibo เลือก Fibo Option
  • ตั้งค่าตาม Fibo Number : 0, 23.6, 38.2, 61.8, 100, 161.8, 261.8.......
  • หลักการคิดคำนวณ เลข Fibo ถัดไป = เลขก่อนหน้า + เลขปัจจุบัน = เลข Fibo ถัดไป
    • เช่น 161.8 = 100+61.8, 261.8 = 161.8 + 100 เป็นต้น

Notes การใข้งาน Stochastic (STO)

การใช้ STO สำหรับดู High Low 
  • STO ใช้สำหรับหา High, Low เพื่อนำมาประกอบกับหลักการ Dow Theory สำหรับดู Trend
  • วิ่งจาก 20 ไป 80 = Low
  • วิ่งจาก 80 ไป 20 = High
  • ตั้งค่า % K = 5 เพื่อเอาระยะเวลา 5 วันมาคิดคำนวณ แล้วแต่ว่าแต่ละคนถนัดไหน

Notes การใข้งาน Tend & Speed Line

ฟหกดหฟกด

Notes ปรับแต่ง Indicator ใน E-Fin

 การปรับแต่งค่า Indicator ใน E-Fin
* คลิกขวาที่กราฟ แล้วจะมีแถบเมนูขึ้นมาเยอะไปหมดแล้วแต่เลือกใช้เลย
* New Panel = จะสร้างแถบ Indicator แยกจากกราฟ เช่น STO, RSI ในภาพตัวอย่าง
* This Panel = จะเป็น Indicator ในกราฟ
* Indicator = สามารถปรับสี ปรับค่าวัน ปรับความหนาของเส้น
* Use Realtime Portal Method = ปรับให้มันเอาค่าทั้งหมดมาคำนวณใน Indicator

Notes ใช้โปรแกรมดูกราฟอะไรดี

คำถามยอดฮิตว่าใช้โปรแกรมดูกราฟอะไรดี
  • ความเห็นส่วนตัวโปรแกรมสำหรับดูกราฟก็มีตั้งแต่ฟรี และ เสียเงินตั้งแต่หลักพัน หลักหลายหมื่น
  • คำถาม คือ เราสามารถทำกำไรกับมัน สำหรับพอที่จะจ่ายค่าตัวมันต่อปี ไหม
  • เวลาเปิดบัญชีกับ Broker จะมีโปรแกรมดูกราฟฟรี ให้ 2 อัน คือ Aspen กับ E-Fin
    • Aspen ส่วนตัวมันหน่วงเนื่องจากการรันของกราฟ คือรันผ่านหน้าเว็ป
    • E-Fin ส่วนตัวผมว่ามันโอเคสำหรับผม เนื่องจาก มันโหลดโปรแกรมมาติดตั้งที่เครื่องและ Get Data มาจาก Server E-Fin อีกที จึงทำให้มันลืนกว่า Aspen ผสมกับออฟชั่นที่มีมาให้มันเพียงพอสำหรับการใช้งาน หาเงินได้แล้วพอ

การใช้งาน E-Fin ตามสไตล์ MeepOohTrade

การปรับแต่งหน้า E-Fin ให้มี พท เยอะๆ
  • ส่วนตัวผมต้องการดูกราฟเลยจำเป็นต้องปรับทุกอย่างเท่าที่ E-Fin จะทำได้เพื่อให้มี พท เยอะๆสำหรับดูกราฟ เพื่อวิเคราะห์ 
  • กราฟที่ดี ควรสะอาดๆ Indicator ไม่จำเป็นต้องเยอะ เพราะเราจะดูกราฟไม่ได้ดู Indicator อิอิ
  • นี่เป็นตัวอย่างการปรับที่ผมใช้ส่วนตัวครับ ลองไปประยุคกันดูนะครับ